Call: 02-666-1933
           Call: 02-666-1933

Connecting with a post-pandemic world through Art | เข้าใจโลกหลังการระบาด ผ่านการเรียนศิลปะ

By Paron Mead โดย ภรณ มีด

ติดตามเนื้อหาภาษาไทยด้านล่าง

I did my best to lift my spirits during the previous lockdown: I baked, I exercised, I went down YouTube wormholes and even adopted a cat. I learnt to get comfortable with boredom. Given the easing of restrictions, I am now determined to shake off any feelings of monotony and to make the decisions that will safely shape my life in enriching and inspiring ways once again.

 

18 months of the pandemic is a long time for us all, but it makes up for a significantly larger fraction to the lives of our young students. To see them reentering the classroom, to be able to connect with their peers and return to normalcy is a beautiful thing – but are we doing enough? I have joined many parents in wondering whether there are skills or experiences that we may want to mindfully reintroduce at this critical life junction.

 

 

What I wish for for our students right now are the opportunities for play and experimentation, to feel the risk of new adventure, to reframe what is beautiful and meaningful to us, to have the chance to bring something original into the world – and to be surrounded in colour. Reconnecting with friends is important but there needs to be time to also connect with ourselves.

 

I suspect what we all need more of right now is ART.

 

Cultivating an appreciation for Art may be more important than ever to the development of this generation of children as they mature socially and academically. There is emerging research to support this.

 

 

 

Some may regard art activities as a luxury but despite that, a strong art education is a fundamental building block of child development and the way that a child now positions themselves within their environment. Art-making is one of the enablers to creativity, an attribute that is increasingly being touted as one of the most important factors for the success of individuals, organisations, and cultures. Beyond the strengthening of creativity, here are 3 lesser known benefits of artistic and creative endeavors for our children that we should be aware of as we come out of lockdown:

 

 Art helps to… provide children with an offline focus, to develop motor skills, and patience.

 

In a landscape where we all may have become dependent on technology for work, for entertainment and for our social connections, screen-time is now very much central to any child’s life. The by-product is that children are missing out on key milestones in their motor skill development, opportunities to engage with new physical processes and now possess shorter attention spans.

 

 

There are few educational or play spaces that will help children to actively engage in rich, tactile experiences like art-making. Creating anything from materials takes time and concentration — working on a painting or drawing will train children to focus on one activity for a period of time. With practice and continuous exposure to art making, we see improvements in their skills and in the capacity to be present.    

 

Art helps to… build a sense of self and confidence.

 

Art education allows children to express their feelings, ideas and offers a way to communicate with others. Art not only benefits from, but also depends on the artist’s own human experiences.

 

 

In making art, children are forced to step outside of their comfort zone, to create new stories and to make bold decisions. When children are encouraged to express themselves and to take risks in their art, they develop their sense of invention that will be important in their adult lives.

 

The role of meaningful art education, in the western sense, is in helping children become themselves, instead of like everyone else. Improvement in their art making will lead to a stronger overall sense of identity and confidence. Art is valuable now not only because we value beautiful artworks, but because it is one of the most effective tools that we have to produce courageous, original thinkers and creators.

 

Art helps to… develop relationships with language, culture and academia.

 

 

Art is, in itself, a language and an instrument of communication and allows us to make connections between images, concepts and words. The process of art making has a unique ability in helping us to generate meaning and messages across non-verbal platforms. Educational research strongly suggests that this process of understanding will in turn strengthen verbal skills in children, particularly like ours who have been raised with more than one language.

 

Not only is Art a portal for children to expand their understanding, but it is a place for children to learn to trust their ideas, themselves and to explore what is possible.

Art is also a powerful tool to enable cultural awareness. The images created by those from another culture than ourselves presents new perspectives in an accessible way for children. In a society as diverse as Bangkok, Art education can be the vehicle for not only understanding, but also offers a gateway to develop empathy and acceptance in someone else’s interpretation of reality. Art speaks in many languages without a translator and has the potential to help us unify.

ในช่วงล็อกดาวน์ที่ผ่านมา ผมพยายามอย่างเต็มที่ในการทำให้ตัวเองอารมณ์ดีอยู่เสมอ ผมทั้งอบขนม ออกกำลังกาย เล่น Youtube และถึงขั้นรับแมวมาเลี้ยง ผมเรียนรู้ที่จะปรับตัวไปกับช่วงที่น่าเบื่อหน่ายนั้น อย่างไรก็ตามตอนนี้มาตรการต่าง ๆ ก็เริ่มผ่อนคลายลงแล้ว ผมจึงตั้งใจอย่างแน่วแน่ที่จะสลัดความรู้สึกเบื่อหน่ายทิ้งไป และตัดสินใจดำเนินชีวิตของผมให้เต็มเปี่ยมไปด้วยคุณค่าและแรงบันดาลใจอีกครั้งหนึ่ง

 

สถานการณ์โรคระบาดที่เกิดขึ้นนาน 18 เดือนนั้นนับว่าเป็นระยะเวลาที่นานมากสำหรับพวกเราทุกคน แต่สำหรับเด็กนักเรียนของเรานั้น ช่วงเวลานี้เป็นส่วนสำคัญของชีวิตพวกเขาไปแล้วด้วย มันเป็นเรื่องน่ายินดียิ่งที่ได้เห็นนักเรียนกลับมาโรงเรียนอีกครั้ง ได้พบปะกับเพื่อน ๆ และได้ใช้ชีวิตตามปกติ – แต่คำถามคือ พวกเราทำได้ดีเพียงพอหรือยัง? ผมได้พูดคุยกับผู้ปกครองหลาย ๆ ท่านและพวกเราก็มีคำถามกันว่า ยังมีทักษะหรือประสบการณ์อื่น ๆ อีกไหมที่เราต้องนำมาสอนนักเรียนของเราอีกครั้งในช่วงวัยหัวเลี้ยวหัวต่อนี้ 

 

 

สิ่งที่ผมปรารถนาให้นักเรียนของเราได้รับตอนนี้คือโอกาสในการได้เล่นและได้ทดลอง ให้นักเรียนได้สัมผัสกับความเสี่ยงของการผจญภัยครั้งใหม่ ได้ปรับเปลี่ยนทัศนคติต่อสิ่งที่เรามองว่ามันสวยงามและมีความหมาย ได้มีโอกาสสร้างสิ่งใหม่ ๆ ให้แก่โลกใบนี้  – และให้ชีวิตของพวกเขาห้อมล้อมไปด้วยสีสัน การได้กลับมาพบปะกับเพื่อน ๆ อีกครั้งเป็นสิ่งสำคัญ แต่เราก็ต้องมีเวลาให้ตัวเราเองได้กลับมาทำความรู้จักกับตัวเองด้วย

 

ผมคิดว่าสิ่งที่เราต้องการอย่างมากในตอนนี้ คือ ศิลปะ

 

สำหรับเด็ก ๆ ยุคนี้ที่กำลังพัฒนาตนเองทั้งทางด้านสังคมและด้านวิชาการ การปลูกฝังให้เด็ก ๆ รู้จักชื่นชมงานศิลปะนั้นอาจมีความสำคัญมากกว่าที่เคยเป็นมา ซึ่งก็มีงานวิจัยที่สนับสนุนแนวคิดนี้มากขึ้นเรื่อย ๆ

 

 

 

บางคนอาจมองว่ากิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับงานศิลปะเป็นสิ่งหรูหราฟุ่มเฟือย แต่ถึงกระนั้นก็ตาม หลักสูตรการศึกษาศิลปะที่เข้มข้นเป็นรากฐานที่สำคัญต่อการพัฒนาเด็ก และยังเป็นเครื่องมือที่เด็กใช้ในการกำหนดอัตลักษณ์ของตนเองในสภาพแวดล้อมที่เขาอยู่ด้วย งานศิลปะเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งความคิดสร้างสรรค์นั้นคือหนึ่งในทักษะที่สำคัญที่สุดที่ได้รับการยอมรับว่าจะนำพาเราสู่ความสำเร็จทั้งในระดับบุคคล องค์กร และวัฒนธรรม นอกเหนือจากการเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์แล้ว ศิลปะยังมีประโยชน์อีก 3 ข้อที่ไม่ค่อยมีใครรู้จักนัก แต่ประโยชน์ที่จะกล่าวถึงนี้มีความสำคัญสำหรับเด็ก ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกหลังการคลายล็อกดาวน์:

 

ศิลปะช่วยให้เด็ก ๆ มีสมาธิจดจ่อกับโลกออฟไลน์ ได้พัฒนาทักษะการเคลื่อนไหว และฝึกความอดทน

 

ในสภาพแวดล้อมที่เราทุกคนต้องพึ่งพาเทคโนโลยีอยู่ตลอดเวลา ทั้งในการทำงาน เสพสื่อบันเทิง และติดต่อสื่อสารกับผู้คน ช่วงเวลาการจ้องอยู่แต่กับหน้าจอกลายเป็นเรื่องหลักในชีวิตเด็ก ๆ ไปแล้วตอนนี้ ผลที่ตามมาก็คือ เด็ก ๆ กำลังพลาดช่วงเวลาสำคัญในการพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวของพวกเขา พลาดโอกาสในการมีส่วนร่วมในกระบวนการทางกายภาพใหม่ ๆ รวมทั้งมีสมาธิที่สั้นลงอีกด้วย

 

 

มีพื้นที่การเรียนรู้หรือเล่นเพียงไม่กี่แห่งที่จะช่วยให้เด็ก ๆ ได้มีประสบการณ์แบบจับต้องได้อย่างเต็มที่ แต่การสร้างสรรค์งานศิลปะนั้นสามารถมอบประสบการณ์ดังกล่าวให้แก่พวกเขาได้ การประดิษฐ์สิ่ง ๆ หนึ่งขึ้นมาจากวัสดุจะต้องใช้ทั้งเวลาและสมาธิ – การระบายสีหรือวาดภาพก็มีส่วนช่วยให้เด็ก ๆ ได้ฝึกสมาธิและจดจ่อกับกิจกรรมหนึ่ง ๆ ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เราจะได้เห็นถึงพัฒนาการด้านทักษะต่าง ๆ และความมีสมาธิจดจ่ออยู่กับสิ่งตรงหน้าของเด็ก ๆ ก็ต่อเมื่อพวกเขาได้ฝึกทำงานศิลปะอย่างต่อเนื่อง

  

ศิลปะช่วยสร้างอัตลักษณ์ความเป็นตัวของตัวเองและเสริมความมั่นใจให้เด็ก ๆ 

 

การเรียนศิลปะช่วยให้เด็ก ๆ ได้แสดงออกทางความรู้สึก ความคิด และให้เด็กได้รู้จักวิธีการสื่อสารกับผู้อื่น งานศิลปะไม่เพียงแต่เป็นการถ่ายทอดเรื่องราวออกจากตัวศิลปินเท่านั้น แต่ศิลปะที่ถ่ายทอดออกมายังอิงมาจากประสบการณ์ชีวิตของตัวศิลปินเองด้วย

 

เด็ก ๆ จะได้ก้าวออกจากพื้นที่ปลอดภัยของตนเองเวลาพวกเขาทำงานศิลปะ พวกเขาจะได้สร้างเรื่องราวใหม่ ๆ และมีความกล้าในการตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ เมื่อเด็กได้รับการสนับสนุนให้แสดงออกและลองทำสิ่งใหม่ในงานศิลปะ พวกเขาจะได้สัมผัสกับความรู้สึกของการเป็นเจ้าของในสิ่งที่ตัวเองเป็นผู้สร้างขึ้นมา ซึ่งนี่จะเป็นกรอบความคิดสำคัญเมื่อพวกเขาโตเป็นผู้ใหญ่ด้วย

 

โลกตะวันตกมองว่าการศึกษาด้านศิลปะมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้เด็ก ๆ สร้างอัตลักษณ์ ได้เป็นตัวของตัวเอง โดยไม่ต้องพยายามเป็นเหมือนคนอื่น การพัฒนาผลงานศิลปะของตนเองจะทำให้เรามีอัตลักษณ์หรือตัวตนของตัวเองที่ชัดเจนขึ้นและมีความมั่นใจมากขึ้น ศิลปะนั้นมีคุณค่าอย่างมากในตอนนี้ ไม่ใช่เพียงเพราะว่าศิลปะคือสิ่งที่เราให้คุณค่าว่ามันสวยงาม แต่เพราะว่าศิลปะคือหนึ่งในเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการให้กำเนิดนักคิดและนักสร้างสรรค์ที่กล้าหาญและมีเอกลักษณ์

 

ศิลปะช่วยพัฒนาความสัมพันธ์กับภาษา วัฒนธรรม และวิชาการ

 

 

โดยตัวมันเองแล้ว ศิลปะคือภาษาและเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสาร ทำให้เราสามารถเชื่อมโยงระหว่างภาพ แนวคิด และคำต่าง ๆ ได้ ความสามารถพิเศษของศิลปะคือกระบวนการที่ทำให้เราใช้สื่อสารได้โดยไม่ต้องใช้คำพูด การวิจัยทางการศึกษาระบุว่ากระบวนการในการทำความเข้าใจศิลปะนี้จะเสริมสร้างทักษะด้านการพูดให้แก่เด็กด้วย เหมือนกับการที่เราสามารถพูดได้หลายภาษาเพราะได้รับการเลี้ยงดูมาในสภาพแวดล้อมที่ต้องพูดมากกว่าหนึ่งภาษา

 

 

ศิลปะไม่เพียงแต่เป็นประตูให้เด็ก ๆ ได้ขยายความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ แต่ศิลปะยังเป็นพื้นที่ให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ที่จะเชื่อมั่นในความคิดของตนเอง เชื่อมันในตัวเอง และได้สำรวจและค้นพบสิ่งต่าง ๆ เท่าที่พวกเขาจะทำได้

 

ศิลปะยังเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการทำให้เกิดความตระหนักรู้ด้านวัฒนธรรมที่แตกต่างด้วย ภาพที่ถูกสร้างขึ้นโดยผู้คนต่างวัฒนธรรมกับเรา ก็จะเป็นภาพที่นำเสนอมุมมองใหม่ ๆ ในรูปแบบที่เด็กสามารถเข้าใจได้ ในสังคมที่มีความหลากหลายอย่างเช่นในกรุงเทพฯ ศิลปะไม่เพียงแต่เป็นสื่อกลางในการทำความเข้าใจเท่านั้น แต่ศิลปะยังเป็นประตูสู่การพัฒนาความเห็นอกเห็นใจและการยอมรับในทัศนคติของผู้อื่นด้วย ศิลปะสามารถพูดได้หลายภาษาโดยไม่ต้องใช้ล่าม และศิลปะมีศักยภาพที่จะช่วยให้รวมให้เราเป็นหนึ่งเดียวกัน

http://www.escortbayanlariz.net