Call: 02-666-1933
           Call: 02-666-1933

Children and Young People’s Mental Health in recognition of World Children’s Day

Children and Young People’s Mental Health | การดูแลสุขภาพจิตของเด็กและเยาวชน

โปรดติดตามภาษาไทยด้านล่าง

World Children’s Day 2021

Children and Young People’s Mental Health

 

  • Mental health problems are one of the main causes of the overall disease burden worldwide.
  • Mental health problems (e.g. anxiety & depression) are reported to be the primary disability worldwide, causing over 40 million cases in young people alone.
  • Major depression is thought to be the second leading cause of disability worldwide and a major contributor to the burden of suicide and heart disease.
  • It is estimated that 1 in 5 people experienced a common mental health problem.

 

How to recognise the signs that your child or young person may be experiencing mental health difficulties according to our licensed mental health professional, Person Centred & Cognitive Behavioural Therapist, Ms Laura Jones:

 

Early years children:

 

  • Behaviour problems in preschool or daycare
  • Hyperactivity which stands out much more than what the other kids are doing
  • Trouble sleeping/Persistent nightmares
  • Excessive fear, worrying, or crying
  • Extreme disobedience or aggression. Because it’s often within a child’s nature to disobey or intrude on a playmate’s space, an excessive degree of this behavior is what should concern you, such as deliberate destructiveness or hurting peers or animals.
  • Lots of temper tantrums all the time
  • Persistent difficulty separating from a parent. Although many children experience separation anxiety at first; there could be a problem if this goes on for months.

 

Older children:

  • Decrease in energy and wanting to sleep very often. This can be a normal developmental change, but too much seclusion can be a sign of depression. 
  • Excessive fears and worries
  • Extreme hyperactivity
  • Sudden decrease in school performance
  • Loss of interest in friends or favorite activities
  • Loss of appetite
  • Sudden changes in weight
  • Excessive worry about weight gain
  • Sudden changes in sleep habits
  • Visible prolonged sadness
  • Substance use or abuse
  • Seeing or hearing things that are not there

 

It can be difficult to know what type of mental illness your child could be facing. For example, “Depression in children does exist, but it is often accompanied by hyperactivity.” While depression can cause a loss of appetite, if your child is refusing to eat or only eats very limited selections, you might also be seeing the early signs of an eating disorder.

 

Tween and teen years:

The preceding signs of mental illness are still a concern, but the behaviours may be more pronounced as children get older. Be vigilant of:

  • Destructive behavior, such as damaging property
  • Critical ideas and talk relating to self
  • Withdrawal from family and friends
  • Comments or writings that suggest a desire to harm himself or others. Frequent discussions around death
  • Covering body parts when unnecessary can be a sign of self-harm
  • Body language: hiding behind hair, clothing, agitated, scratching at hands or other body parts, biting fingernails

 

What to do if you think your child or young person  is experiencing any of these  challenges:

 

  • Talk to them and let them know that you care. Make them feel heard and understood.
  • Ensure that your home is a safe and trusted space for your child. Eliminate pressure and criticism. 
  • Be open minded about mental health and do not categorise it, for example, saying things such as: “we do not experience that in our family, culture etc”.
  • Act fast! Seek mental health support through your child’s school or by the internet search engines. By simply typing ‘Counsellor or Psychologist, and your location’ a number of trained professionals will be listed. 
  • Encourage positivity for your child, e.g. socialising, self-care, compassion and healthy meals and sleep patterns. 

วันเด็กสากล 2021

การดูแลสุขภาพจิตของเด็กและเยาวชน

 

  • ปัญหาสุขภาพจิตเป็นปัญหาที่แพร่กระจายไปทั่วโลก
  • มีรายงานว่าเยาวชนและหนุ่มสาวกว่า 40 ล้านคนทั่วโลกกำลังประสบกับปัญหาด้านสุขภาพจิต เช่น อาการวิตกกังวล อาการซึมเศร้า เป็นต้น
  • ภาวะซึมเศร้าขั้นรุนแรงยังเป็นสาเหตุหลักอันดับที่ 2 ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวม และยังเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้คนคิดฆ่าตัวตายและป่วยเป็นโรคหัวใจด้วย 
  • มีการประมาณการว่าประชากรราว 1 ใน 5 คน นั้นมีปัญหาด้านสุขภาพจิต

 

คุณลอร่า โจนส์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตที่มีใบอนุญาตรองรับอย่างเป็นทางการของเรา อยากแบ่งปันกับผู้ปกครองถึงวิธีการสังเกตอาการของเด็ก ๆ ว่าพวกเขากำลังประสบปัญหาสุขภาพจิตอยู่หรือไม่ ดังนี้ 

 

อาการที่บ่งชี้ว่าเด็กอาจมีปัญหาด้านสุขภาพจิต

 

เด็กเล็ก 

  • มีปัญหาด้านพฤติกรรมในชั้นเตรียมอนุบาลหรือในสถานเลี้ยงเด็ก
  • ไฮเปอร์ อยู่ไม่นิ่ง กระตือรือร้นมากเกินกว่าเด็กคนอื่น ๆ 
  • นอนหลับยาก หรือฝันร้ายบ่อย ๆ
  • กลัว วิตกกังวล หรือร้องไห้บ่อย ๆ
  • ดื้อรั้นหรือมีอารมณ์รุนแรง การที่เด็กดื้อหรือแกล้งเพื่อนบ้างนั้นเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่พฤติกรรมที่เราจะต้องกังวลคือเมื่อเด็กคนนั้นตั้งใจทำลายข้าวของ ทำร้ายเพื่อน หรือทำร้ายสัตว์
  • มีอารมณ์เกรี้ยวกราดตลอดเวลา
  • ไม่สามารถหรือมีความยากลำบากในการแยกตัวออกห่างจากผู้ปกครอง ทั้งนี้ เป็นเรื่องปกติที่ในช่วงแรกของการต้องอยู่ห่างกับผู้ปกครอง เด็กจะรู้สึกกังวล แต่หากว่าผ่านไปหลายเดือนแล้วเด็กยังไม่สามารถอยู่ห่างจากผู้ปกครองได้ นั่นก็เป็นเรื่องน่ากังวล 
  •  

เด็กที่กำลังโต

  • ไม่ค่อยแอคทีฟ ไม่อยากทำอะไร อยากนอนตลอดเวลา อาการเหล่านี้อาจเป็นช่วงปกติของการเติบโตทางร่างกาย แต่หากเด็กมีอาการเหล่านี้มากเกินไป ก็เป็นสัญญาณของภาวะซึมเศร้าได้ 
  • กลัวและวิตกกังวลบ่อยเกินไป
  • สมาธิสั้น
  • มีผลการเรียนตกลงอย่างกระทันหัน
  • สูญเสียความสนใจในกิจกรรมที่ตนชอบ หรือแม้แต่ตีตัวออกห่างจากเพื่อน
  • เบื่ออาหาร
  • น้ำหนักเปลี่ยนแปลงอย่างกระทันหัน
  • กังวลเรื่องน้ำหนักตัว
  • มีพฤติกรรมการนอนที่เปลี่ยนไปอย่างกระทันหัน
  • มีอาการเศร้าเป็นระยะเวลานาน
  • มีการใช้สารเสพติดหรือใช้ความรุนแรง
  • เห็นหรือได้ยินสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง

 

มันอาจเป็นเรื่องยากที่เราจะทราบว่าลูกของเรานั้นมีปัญหาด้านสุขภาพจิตแบบใด ตัวอย่างเช่น ภาวะซึมเศร้าของเด็กนั้นเกิดขึ้นได้แต่บางครั้งภาวะซึมเศร้าอาจแสดงออกมาในรูปแบบของอาการไฮเปอร์ ในขณะที่บางครั้งภาวะซึมเศร้าอาจทำให้รู้สึกเบื่ออาหารได้ แต่หากลูกไม่ยอมทานอาหารหรือเลือกรับประทานเพียงเล็กน้อย คุณก็อาจจะเห็นว่านั่นคือสัญญาณของพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ผิดปกติได้เช่นกัน 

 

เด็กวัยรุ่น 

สัญญาณของปัญหาด้านสุขภาพจิตที่กล่าวมาเบื้องต้นนั้นน่าเป็นห่วง เมื่อเด็กเริ่มโตขึ้น พฤติกรรมที่พวกเขาแสดงออกจะยิ่งเด่นชัดขึ้น พฤติกรรมและอาการต่อไปนี้คือสิ่งที่ต้องพึงระวัง:

  • พฤติกรรมทำลายข้าวของ เช่น ทำลายทรัพย์สินและสิ่งของต่างๆ
  • ขู่ว่าจะหนีออกจากบ้าน หรือการเดินหนีไปเลย
  • ตีตัวออกห่างจากครอบครัวและเพื่อนฝูง
  • บอกว่าจะทำร้ายตนเองหรือทำร้ายผู้อื่น

 

สิ่งที่คุณต้องทำ หากคุณคิดว่าบุตรหลานกำลังประสบปัญหาเหล่านี้

 

  • พยายามพูดคุยให้เขารู้ว่าคุณใส่ใจ ทำให้พวกเขารู้สึกได้ถึงความห่วงใยและเข้าใจของคุณ
  • บ้านของคุณต้องเป็นพื้นที่ปลอดภัยและน่าไว้ใจ ไม่กดดันและวิพากษ์วิจารณ์ลูก
  • มีทัศนคติที่เปิดกว้างต่อปัญหาสุขภาพจิตและอย่าไปต่อต้านการรับรู้เรื่องนี้ เช่นเราต้องไม่พูดว่า “เราไม่เคยมีเหตุการณ์แบบนี้ในครอบครัวของเรา หรือวัฒนธรรมของครอบครัวเราไม่ได้เป็นแบบนี้”
  • ลงมือขอความช่วยเหลือทันที! ขอความช่วยเหลือด้านสุขภาพจิตผ่านทางโรงเรียนหรือหาข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตก็ได้ เพียงค้นหาคำว่า “ที่ปรึกษา หรือ นักจิตวิทยา ใกล้ที่อยู่ของฉัน” รายชื่อของผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการฝึกอบรมด้านสุขภาพจิตก็จะปรากฎขึ้นมาให้คุณได้ค้นข้อมูล
  • ส่งเสริมความคิดเชิงบวกให้กับลูก เช่นทัศนคติที่ดีในการเข้าสังคม การดูแลตนเอง การแสดงความเข้าใจเห็นอกเห็นใจ สุขโภชนาการที่ดี และการนอนหลับที่ดี 

http://www.escortbayanlariz.net