
Supporting your children through their developmental stages
by Ms Laura Jones – School Counsellor & Well-being Lead, and Mr Mark Higgins – Vice-Principal Pastoral
A focus on how to talk to your child in challenging times, such as dealing with the complexities of the COVID pandemic and tips and strategies in supporting your child during the various stages of their growth and development.
Developmental milestones – Between the ages of 3 – 6 years old your child will:
Age 3: Increase in height, weight and speech (observe but not to worry). Reassure their fears and imagination which vary at this age
Age 4: Enjoy singing, skipping, playing ball, drawing people and building blocks. They will start to dress themselves, ask lots of questions & tell stories – embrace this
Age 5: Learn to tie shoes, recite alphabet, write 1st name and lose baby teeth etc. Your child may seem to talk a lot and ask open questions – this is them being eager to learn about the world around them – teach them in a fun/creative way through art & play
Growth & Development – Between the ages of 7-12 years old your child will:
Puberty in girls
Puberty in boys
Developmental milestones – the adolescent
Teenage years are challenging for both you and your teenager; being aware and adapting to change is what you need at this stage.
Your child may be still a child, but they have new ideas on the world around them:
The Parents role through the stages:
Communication is key: Ask open questions & actively listen at all ages
Bonding time: Make time for 1:1 fun & relaxation (even if you have more than 1 child)
Modelling behaviour: Open-mindedness, compassion, anger management, compassion, resilience, self-love
Providing support & open communication at their times of puberty & menstruation
Be observant of any possible mental health challenges: anxiety, low mood, self-harm, perfectionism, insecurities.
How to keep the calm at home during COVID:
Address children’s fears.
Children rely on their parents for safety, both physical and emotional. Reassure your children that you are there for them and that your family will get through this together.
Answer questions about the pandemic simply & honestly.
Talk with children about any frightening news they hear. It is OK to say people are getting sick, but remind them that following safety steps like hand washing , wearing cloth face coverings, and staying home more will help your family stay healthy.
Recognize your child’s feelings.
Calmly say, for example, “I can see that you are upset because you can’t have a sleepover with your friends right now.”
Keep in touch with loved ones.
Children may also worry about a grandparent who is living alone or a relative or friend with an increased risk of getting COVID-19.
Look forward
Tell them that scientists are working hard to figure out how to help people who get sick, how to prevent it, and that things will get better.
Offer extra hugs and say “I love you” more often.
Whole Child Development – The Ackermann Theory
At DBS, we truly believe in the development of the whole child.
We encourage our students to develop not only their academic knowledge but also their key skills, sometimes called 21st Century skills.
We provide opportunities for students to practice skills such as independence, creativity, resilience, empathy, problem solving, collaboration and communication.
https://www.youtube.com/watch?time_continue=9&v=uHBQbEP23kY&feature=emb_logo
Useful websites for parents
การดูแลลูกในช่วงวัยต่าง ๆ
โดย ลอร่า โจนส์ ที่ปรึกษาด้านจิตวิทยาและหัวหน้าฝ่ายด้านความเป็นอยู่ที่ดีของโรงเรียน และ มาร์ค ฮิกกินส์ รองครูใหญ่ฝ่ายสวัสดิภาพนักเรียน
บทความนี้มุ่งเน้นเรื่องแนวทางการพูดคุยกับลูกในช่วงเวลาที่ท้าทายต่าง ๆ เช่น การจัดการกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 เคล็ดลับและกลยุทธ์ในการสนับสนุนลูกในช่วงวัยที่แตกต่างกันไปตามพัฒนาการและการเจริญเติบโตของเด็ก
พัฒนาการที่สำคัญ ในช่วงอายุระหว่าง 3 – 6 ปี
อายุ 3 ขวบ: ลูกจะสูงและมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น รวมถึงจะสามารถพูดได้มากขึ้น ช่วงนี้พ่อแม่ต้องสร้างความมั่นใจให้ลูก เพราะลูกอาจรู้สึกกลัวในสิ่งต่าง ๆ ที่ตนจินตนการขึ้นมา
อายุ 4 ขวบ: ลูกจะชื่นชอบการร้องเพลง กระโดด เล่นลูกบอล วาดภาพคน และเล่นตัวต่อ พวกเขาจะเริ่มแต่งกายเอง มีคำถามมากมาย และเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ให้พ่อแม่ฟัง
อายุ 5 ขวบ: ลูกจะเรียนรู้ที่จะผูกเชือกรองเท้าได้เอง ท่องพยัญชนะต่าง ๆ เขียนชื่อตัวเองได้ ฟันน้ำนมเริ่มหลุด และอื่น ๆ อีกมากมาย ลูกอาจจะพูดมากขึ้น และถามคำถามปลายเปิดบ่อยครั้ง สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าลูกต้องการเรียนรู้ทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวพวกเขา พ่อแม่จะต้องคอยสอนลูกในช่วงนี้ โดยพ่อแม่จะต้องสอนลูกอย่างสร้างสรรค์และสนุกสนาน เช่น ให้ลูกได้ทำกิจกรรมศิลปะและเล่นสนุก
การเจริญเติบโตและพัฒนาการของลูก ในช่วงอายุ 7-12 ปี:
วัยเจริญพันธ์ุในเด็กผู้หญิง
วัยเจริญพันธ์ุในเด็กผู้ชาย
การพัฒนาช่วงวัยรุ่น
ช่วงเป็นวัยรุ่นนั้นเป็นช่วงเวลาที่ท้าทายสำหรับพ่อแม่และเด็ก สิ่งที่เราต้องทำคือการมีสติรู้คิดและรู้จักปรับตัวเข้ากับความเปลี่ยนแปลง
ลูกของคุณก็ยังคงเป็นเด็กอยู่ แต่พวกเขาอาจจะมีความคิดและทัศนคติใหม่ ๆ ต่อสิ่งรอบตัวเขา
บทบาทของพ่อแม่ในช่วงวัยต่างๆ:
การสื่อสารคือกุญแจสำคัญ: ถามคำถามปลายเปิดกับลูก และรับฟังลูกอย่างตั้งใจในทุก ๆ ช่วงวัย
มีปฎิสัมพันธ์ สร้างความคุ้นเคยกับลูก: หากมีลูกมากกว่า 1 คน พ่อแม่ต้องจัดสรรเวลาใช้ร่วมกับลูกแบบตัวต่อตัว และให้มันเป็นช่วงเวลาที่ผ่อนคลายและสนุกสนาน
เป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ลูก: ต้องมีทัศนคติที่เปิดกว้าง เข้าอกเข้าใจลูก รู้จักจัดการกับความโกรธ รู้จักปรับตัวและยืดหยุ่น และรักตัวเอง
ให้การสนับสนุนลูก และสื่อสารกับลูกอย่างเปิดกว้าง โดยเฉพาะในช่วงที่ลูกกำลังเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์
หมั่นสังเกตสภาพจิตใจของลูกอยู่เสมอว่าปกติดีหรือไม่: สังเกตอาการวิตกกังวล อารมณ์เศร้าหมอง พฤติกรรมคิดทำร้ายตัวเอง ความต้องการความสมบูรณ์แบบจนเกินไป (perfectionist) หรือความไม่มั่นใจ
เราจะจัดการกับสถานการณ์โควิดอย่างมีสติรู้คิดที่บ้านได้อย่างไร :
พูดกับลูกเกี่ยวกับความกลัวและกังวลในเรื่องต่าง ๆ
ลูก ๆ จะพึ่งพาพ่อแม่ในเรื่องของความปลอดภัยทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจเสมอ ดังนั้นพ่อแม่จะต้องพยายามทำให้ลูกรู้ว่าพ่อแม่อยู่เคียงข้างพวกเขา และครอบครัวจะผ่านพ้นช่วงเวลาที่ท้าทายต่าง ๆ ไปด้วยกัน
ตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องการแพร่ระบาดอย่างเข้าใจง่ายและตรงไปตรงมา
พูดคุยกับลูกถึงข่าวต่าง ๆ ที่อาจจะดูน่ากลัว ซึ่งมันเป็นเรื่องปกติที่ผู้คนจะล้มป่วย แต่ต้องบอกลูกว่าเราต้องคอยระวังป้องกันตัวเองอยู่เสมอ เช่น ล้างมือ ใส่หน้ากาก หลีกเลี่ยงสถานที่ที่คนพลุกพล่าน
รับรู้และเข้าใจถึงความรู้สึกของลูก
ตัวอย่างเช่น พูดกับลูกว่า “พ่อแม่เข้าใจที่ลูกไม่พอใจที่ไม่สามารถไปนอนข้างบ้านเพื่อนได้ในตอนนี้”
ติดต่อสื่อสารกับคนที่รักอย่างสม่ำเสมอ
ลูกอาจเป็นห่วงคุณปู่ย่าตายาย รวมถึงญาติ ๆ และเพื่อน ที่ต้องอยู่บ้านคนเดียวในช่วงสถานการณ์โควิดระบาดรุนแรง
มีความหวังกับสถานการณ์ภายภาคหน้า
บอกลูก ๆ ว่าตอนนี้นักวิทยาศาสตร์กำลังทำงานอย่างหนักเพื่อหาหนทางช่วยเหลือผู้ป่วย วิธีป้องกันการแพร่ระบาด และท้ายที่สุดแล้วสถานการณ์ต่าง ๆ จะดีขึ้นเอง
กอดลูกให้มากขึ้น บอกรักลูกให้บ่อยขึ้น
การพัฒนาเด็กแบบองค์รวม ทฤษฎีของ Ackermann
ที่โรงเรียนนานาชาติ DBS เราเชื่อเรื่องการพัฒนาเด็กแบบองค์รวม เราสนับสนุนให้เด็กได้พัฒนาทั้งทางด้านการเรียนรู้ รวมถึงการพัฒนาทักษะชีวิตต่าง ๆ ที่เรามักเรียกกันว่า ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ด้วย เราเปิดโอกาสให้เด็กได้ฝึกฝนทักษะเหล่านี้ เช่น ทักษะการพึ่งพาตัวเอง ความคิดสร้างสรรค์ การปรับตัว ความเห็นอกเห็นใจ การแก้ไขปัญหา การให้ความร่วมมมือ และการสื่อสาร
https://www.youtube.com/watch?time_continue=9&v=uHBQbEP23kY&feature=emb_logo
เว็บไซต์ที่มีประโยชน์สำหรับผู้ปกครอง